ข้อมูลที่ควรรู้สำหรับโรคข้อเข่าเสื่อม
หากพูดถึงโรคที่มักจะพบได้บ่อย โดยเฉพาะในวัยผู้ใหญ่ตอนปลายไปถึงวัยสูงอายุ เรามักจะนึกถึงโรคข้อเข่าเสื่อมกันใช่ไหมครับ เนื่องจากข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของกระดูกอ่อนที่ข้อเข่า ทำให้เกิดอาการปวดเข่า หรือเจ็บบริเวณเข่าตามมา มักพบในคนที่มีอายุเฉลี่ยตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ดังนั้นวันนี้เรามาทำความรู้จักกับข้อควรรู้ต่าง ๆ ของโรคข้อเข่าเสื่อมไปพร้อม ๆ กันครับ
ปัจจัยการเกิดโรคข้อเข่าเสื่อม
1.อายุ: โรคข้อเข่าเสื่อมมักเกิดขึ้นครั้งแรกตอนอายุประมาณ 30 ถึง 40 ปี และมีอาการมากขึ้นเมื่อมีอายุ 50 ปีขึ้นไป
2.น้ำหนักตัว: คนที่มีน้ำหนักตัวมาก ข้อเข่าต้องรับน้ำหนักตัวมากเกินไป ทำให้เกิดการสึกกร่อนของผิวกระดูกอ่อนมากยิ่งขึ้น
3.ประวัติการบาดเจ็บ: ผู้ที่เคยประสบอุบัติเหตุเกี่ยวกับข้อเข่า แต่ไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
4.เพศ: ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากปัจจัยด้านฮอร์โมน
5.โรคประจำตัว: ผู้ที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับข้อและกระดูกอ่อน เช่น ข้ออักเสบรูมาตอยด์ และ เก๊าท์
กลุ่มเสี่ยงของโรคข้อเข่าเสื่อม
•คนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
•คนที่มีประวัติการบาดเจ็บข้อเข่า
•คนที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับข้อและกระดูกอ่อน
•คนที่มีน้ำหนักตัวมาก
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม
•ปวดในข้อเข่า
•ข้อเข่าติดหรือฝืดตึง
•เสียงดังในข้อเข่า
•จุดกดเจ็บบริเวณเข่า
•ข้อเข่าบวมผิดรูป
ภาวะแทรกซ้อนของโรคข้อเข่าเสื่อม
•อาจมีอาการบวมร้อน
•อาจมีภาวะอักเสบข้อเข่า
•อาจมีภาวะติดเชื้อ
การรักษาข้อเข่าเสื่อมมีหลายวิธีซึ่งแพทย์จะประเมินระดับความรุนแรงของโรค และแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมที่สุด โดยจะพิจารณาการรักษาแตกต่างกันเป็นรายบุคคล เช่น
1. การออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นสิ่งที่สำคัญในการรักษาข้อเข่าเสื่อม โดยการออกกำลังกายที่เหมาะสมจะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและควบคุมน้ำหนักตัว และลดการกร่อนของข้อเข่า
2. การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า การฉีดน้ำเลี้ยงข้อเข่า (Viscosupplementation) เป็นวิธีการรักษาที่ใช้สารน้ำเลี้ยงเสริมเข้าไปในข้อเข่า เพื่อลดอาการปวดและเสริมสร้างความยืดหยุ่นให้กับข้อเข่า
3. การฉีด PRP เข่า เป็นการนำเลือดของผู้มีอาการข้อเข่าเสื่อมมาปั่นเพื่อให้ได้เกล็ดเลือด และนำมาฉีดเข้าไปที่เข่า ภายในเกล็ดเลือดที่ฉีดนั้นจะอุดมไปด้วย Growth factor ที่จะทำให้เกิดการซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอในข้อเข่า
4. การใช้ยา การใช้ยาต้านอักเสบ และยาแก้ปวด เช่น ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สตีรอยด์ (NSAIDs) อาจช่วยลดอาการปวดและอักเสบในข้อเข่า
5. การทำกายภาพบำบัด การทำกายภาพบำบัดเป็นวิธีการรักษาที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ควบคุมน้ำหนักตัว และเพิ่มความยืดหยุ่นให้กับข้อเข่า
6. การผ่าตัด ในกรณีที่อาการข้อเข่าเสื่อมมีความรุนแรง แพทย์อาจพิจารณาให้ผู้ป่วยทำการผ่าตัด เช่น การเปลี่ยนข้อเข่า (Knee replacement surgery) หรือการซ่อมแซมข้อเข่า
ในการรักษานั้นจะต้องได้รับการตรวจร่างกายโดยนักกายภาพบำบัด แพทย์ แพทย์เฉพาะทาง เพื่อเช็คว่าอาการที่เป็นนั้นเหมาะกับการรักษาแบบใดครับ
หากท่านเป็นคนหนึ่งที่มีอาการปวดเข่า และกำลังมองหาวิธีรักษาสามารถเข้ามาปรึกษาได้ที่ คลินิกกายภาพบำบัด Zenista Health and Wellness สาขาชลบุรี” และ “คลินิกกายภาพบำบัด Zenista Health and Wellness สาขาเพชรบุรี” ทั้งสองสาขา หรือสอบถามเพิ่มเติม/ต้องการนัดหมายล่วงหน้า ได้ที่ Line : @zenista