OFFICE SYNDROME คืออะไร
ในโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็วอย่างปัจจุบัน หลายคนใช้เวลาทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน แม้ว่าสิ่งนี้จะมีความสะดวก รวดเร็ว และประสิทธิภาพ แต่ก็นำไปสู่ปัญหาสุขภาพใหม่ ๆ ที่เรียกว่า “โรคออฟฟิศซินโดรม” ภาวะนี้มีลักษณะเฉพาะจากอาการทางร่างกายและจิตใจที่เกิดจากการนั่งนาน ๆ อิริยาบถที่ไม่ดี และการเคลื่อนไหวซ้ำ ๆ ในบทความนี้ เราจะพูดถึง Office Syndrome ในประเด็นต่าง ๆ กันครับ
Office Syndrome คืออะไร?
Office Syndrome คือชื่อเรียกของอาการปวดบริเวณ คอ บ่า ไหล่ ที่ค่อย ๆ เกิดอาการปวดสะสม ทีละเล็กทีละน้อย ในช่วงเป็นแรก ๆ จะรู้สึกเพียงแค่มีอาการล้า บริเวณ คอ บ่า ไหล่ หากได้พักผ่อน หรือเลิกทำงาน อาการล้าดังกล่าวก็จะค่อย ๆ ดีขึ้น และหายไปเองได้ แต่หากมีการกระตุ้นซ้ำ ๆ อาการที่เคยเป็นที่สามารถหายไปได้เองจะหายได้ยากขึ้น จนในที่สุดก็ไม่สามารถหายได้เอง และกลายเป็นมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ตลอดเวลา ปวดหัว ตาพล่ามัว จนขัดขวางการใช้ชีวิตประจำวัน แต่เมื่อถึงตอนนี้อาการก็รักษาได้ยากขึ้นแล้วครับ
Office Syndrome เกิดขึ้นได้อย่างไร
ออฟฟิศซินโดรมเกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากสภาพแวดล้อมในการทำงาน และตัวงานเอง สาเหตุที่พบได้บ่อย ๆ มีดังนี้
1.การนั่งทำงานเป็นเวลานาน: การนั่งทำงานเป็นเวลานานโดยไม่หยุดพักอาจทำให้กล้ามเนื้อปวดได้
2.ท่าทางที่ไม่ดี: การนั่งในท่างอหรือหลังค่อมคอมพิวเตอร์อาจทำให้คอ หลัง และไหล่ตึงได้
3.การเคลื่อนไหวท่าเดิม ๆ ซ้ำ ๆ : การทำงานเดิม ๆ ซ้ำ ๆ เช่น การพิมพ์ หรือการใช้เมาส์ นำไปสู่การบาดเจ็บจากความเครียดในกล้ามเนื้อซ้ำ ๆ
4.การยศาสตร์ที่ไม่ดี: สำนักงาน หรือพื้นที่ทำงานที่ไม่ได้จัดวางอย่างเหมาะสมกับสรีระร่างกายของผู้ปฏิบัติงาน เช่น จอคอมพิวเตอร์ที่อยู่สูงเกินไป ตำแหน่งแป้นพิมพ์ที่ต่ำเกินไป อาจทำให้รู้สึกไม่สบายและเจ็บปวดได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็งตัวมากขึ้น
อาการของออฟฟิศซินโดรมที่มักจะสังเกตได้ด้วยตัวเอง
ออฟฟิศซินโดรมมีอาการที่แสดงออกได้หลายอาการ อาการที่พบบ่อยคือ
1.ปวดกล้ามเนื้อ คอ บ่า ไหล่ เป็นอาการทั่วไปของออฟฟิศซินโดรม
2.ปวดหัวจากความตึงเครียด และมีการตึงของกล้ามเนื้อ
3.ปวดตา ตาพร่ามัว
4.ชา หรือรู้สึกล้า คล้ายจะไม่มีแรง บริเวณแขนหรือขา
5.ปวดสะโพก
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิด Office Syndrome
ออฟฟิศซินโดรม เป็นปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์เป็นเวลานานและการนั่งในท่าทางที่ตายตัวเป็นเวลานาน ดังนั้นปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคออฟฟิศซินโดรม จะเกี่ยวข้องกับท่าทางการทำงานและระยะเวลาของการทำงานครับ
1.ท่าทางไม่ดีขณะนั่งอยู่ที่โต๊ะทำงาน
2.ขาดการยศาสตร์ที่เหมาะสมในพื้นที่ทำงาน หรือ Work Station
3.การเคลื่อนไหวของมือ ข้อมือ หรือนิ้วซ้ำ ๆ ขณะพิมพ์หรือใช้เมาส์
4.การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มากเกินไป เช่น สมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต
5.ทำงานต่อเนื่องนานเกินไปจนขาดระยะพักระหว่างทำงาน
6.ความเครียดและความเหนื่อยล้าทางจิตใจจากความกดดันในการทำงาน
7.แสงสว่างและคุณภาพอากาศในที่ทำงานไม่ดี
8.พักผ่อนไม่เพียงพอ
การหยุดพัก ยืดเส้นยืดสาย อย่างสม่ำเสมอในช่วงเวลาทำงานเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันออฟฟิศซินโดรม การยศาสตร์ที่เหมาะสม ท่าทางที่ดี และการพักสายตาเป็นพัก ๆ สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคออฟฟิศซินโดรมได้ครับ
คำถามที่พบบ่อย (FAQ)
- Office Syndrome เป็นแล้วมีโอกาสหายไหม
Office syndrome สามารถหายได้ไหมเป็นคำถามที่ถูกถามบ่อยมากขณะที่ผมรักษา คำตอบคือ “หายได้ครับ” แต่ว่าจะหายช้า หรือหายเร็วแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลัก ๆ คือยังมีการกลับไปกระตุ้นอาการซ้ำ ๆ เดิม ๆ อยู่หรือไม่ มีการดูแลกล้ามเนื้อเพื่อป้องกัน Office Syndrome ดีแค่ไหน และอีกปัจจัยที่สำคัญคือ ได้รับการรักษาอย่างถูกจุดหรือไม่ครับ
อาการของ Office Syndrome ในขณะที่ยังมีอาการน้อย ๆ ก็สามารถหายได้เอง หรือเมื่ออาการมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นเล็กน้อย การรักษาจะใช้ระยะเวลาไม่นาน ไม่ต้องนัดเพื่อทำกายภาพบำบัดถี่มาก แต่หากความรุนแรงมาก ปวดตลอดเวลา มีอาการล้า ๆ เหมือนจะไม่มีแรง ปวดหัว ตาพร่ามัว แบบนี้ระยะการรักษาก็จะนานออกไป และอาจต้องนัดมาทำกายภาพบำบัดถี่มากกว่าอาการที่มีความรุนแรงน้อยครับ
- หากมีอาการของ Office syndrome แล้วไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
ความรุนแรงของ Office Syndrome สามารถกวนใจเราได้ตั้งแต่ระดับเค่รู้สึกรำคาญ พักแป๊บ ๆ เดี๋ยวก็หาย ผู้ที่มีอาการเหล่านี้ก็จะไม่ได้มีความกังวลอะไรมากเกี่ยวกับอาการที่เกิดขึ้น แต่เมื่อ Office Syndrome ถูกกระตุ้นอยู่เรื่อย ๆ ซ้ำ ๆ ก็จะค่อยมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น จนอาการที่เคยหายได้เองไม่สามารถหายได้เองอีกต่อไป กลายเป็นมีอาการปวดตลอดเวลา แต่อาการที่เกิดขึ้นนี้สามารถรุนแรงไปถึงขั้นมีอาการล้าแขน รู้สึกไม่มีแรง ปวดหัว ตาพร่า ขัดขวางการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นเมื่อมีอาการแม้เพียงเล็กน้อย ท่านสามารถเข้ามาปรึกษา ตรวจประเมิน วางแผนการรักษาโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ Zenista Clinic ที่นี่เรายินดีให้บริการครับ หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมสามารถสอบถามเข้ามาได้ที่ line ID @Zenista ครับ